โรงเรียน บริบาล คือ อะไร? มาทำความรู้จักกัน เอาให้เคลียร์ เอาให้ชัดกัน เพื่อไขข้อสงสัยกันนะครับ ที่มาของคำว่า “บริบาล” ตามพจนานุกรม [บอ-ริ-บาน] (ภาษาบาลีและสันสกฤต ปริปาล) แปลว่า ผู้รักษา, ผู้ดูแล, รักษา, ดูแล, เลี้ยงดู(ภาษาอังกฤษ guardian, keeper) คำว่า บริบาล คำนี้มาจากคำภาษาบาลีและสันสกฤตว่า ปริปาล (อ่าน ปะ -ริ-ปา-ละ) แปลว่า การคุ้มครองโดยรอบ ผู้คุ้มครองโดยรอบ. คำว่า บริบาล เมื่อใช้เป็นคำศัพท์ในวรรณคดี อาจหมายถึง คุ้มครอง ดูแล รักษา
เช่น “เย็นศิระเพราะพระบริบาล“ แปลว่า พสกนิกรชาวไทยร่มเย็นเป็นสุขอยู่ได้เพราะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงคุ้มครองรักษา. ในลิลิตตะเลงพ่ายมีข้อความว่า “จัตุรังคบาทบริบาล งานมหาเทพบูรณ์เฉวียง เฉียงขวาพระมหามนตรี ท้าวหัสดีปฤษฎางค์ สองเสนางค์จำนำ” หมายความว่า จัตุรังคบาทดูแลรักษาเท้าทั้ง ๔ ของช้างเมื่อออกศึก. ในภาษาไทยปัจจุบัน บริบาล มีความหมายแคบลง หมายถึง ดูแลเด็กเล็ก คนชรา หรือพยาบาลผู้ป่วยเรื้อรังอย่างต่อเนื่องและใกล้ชิด เช่น เธอมีประสบการณ์บริบาลทารกมามากกว่า ๑๐ ปี. คำว่า บริบาล ยังพบในคำว่า บริบาลศาสตร์ และ บริบาลเภสัชกรรม
ที่มา : บทวิทยุรายการ “รู้ รัก ภาษาไทย” ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖ เวลา ๗.๐๐-๗.๓๐ น.
ณ ปัจจุบัน เรามีผู้สูงอายุมากขึ้น ผู้สูงอายุจะมีความเจ็บป่วยเรื้อรัง เช่น อ่อนแรง เป็นอัมพาต มีความพิการอย่างอื่น ท่านเหล่านี้ไม่ควรไปอยู่ที่โรงพยาบาล เพราะโรงพยาบาลคนแน่น เร่งรีบ และแพง ไม่เหมาะกับการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังซึ่งต้องการการบริบาลที่ดี การไปอยู่โรงพยาบาลก็เป็นการแปลกแยกจากสภาพแวดล้อมอันคุ้นเคยที่บ้าน ทำให้ท่านผู้สูงอายุเหล่านี้ไม่มีความสุขเลย และคอยจะร้องขอ “กลับบ้าน” ถ้าดูแลที่บ้านได้ท่านจะมีความสุขกว่ามาก จึงควรมีพยาบาลไปเยี่ยมถึงบ้าน สัปดาห์ละครั้งหรือบ่อยตามความจำเป็น หรือตามความพร้อมของผู้ที่เป็นญาติจะจ่ายค่าใช้จ่ายได้ บางรายมีการจ้างพยาบาลมาดูแลเป็นประจำ
เพราะที่บ้านไม่มีผู้ที่มีความสามารถหรือมีความรู้ดูแลผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง ทั้งการรักษาความสะอาดป้องกันการติดเชื้อ การให้อาหารโภชนาการที่เหมาะสมแก่ผู้ป่วย การพักฟื้นผู้ป่วยบางรายต้องการการทำกายภาพบำบัด บางรายป่วยติดเตียงต้องมีการเคลื่อนย้ายอยู่ตลอดเวลา เพื่อทำหัตถการบางอย่าง และสอนผู้ป่วยหรือญาติ ดังนั้นบุคคลากรเหล่านี้ที่จะเข้ามาทำงาน หรือช่วยลดการทำตรงนี้คือ พนักงานบริบาล หรือ ผู้บริบาล นั่นเอง ผู้บริบาลควรเป็นผู้ที่มีการศึกษาระดับหนึ่ง ได้รับการอบรมประมาณ 6 เดือนถึง 1 ปี ใน โรงเรียน บริบาล ให้เข้าใจและมีทักษะในการบริบาล โดยเฉพาะมีความละเอียดอ่อนและความรับผิดชอบสูง
คุณจะได้อะไรจากบทความนี้ เลือกหัวข้อทางลัดที่ต้องการอ่าน
ที่มาของ โรงเรียนบริบาล ในประเทศไทย
เนื่องจากว่า มีการผลิตบุคคลากรทางการพยาบาลไม่ทัน ทางกระทรวงสาธารณสุขจึงทำความร่วมมือไปยังกระทรวงศึกษาธิการ ให้ดำเนินจัดการระบบการเรียนการสอน ให้กับเอกชนที่ความรู้ทางด้านการแพทย์และพยาบาล โดยส่วนใหญ่แล้วผู้ประกอบการก็มักจะมาจากผู้ที่เป็นแพทย์ พยาบาลวิชาชีพ มาร่วมมือกันเปิดโรงเรียน ซึ่งเป็นโรงเรียนตามมาตราฐานของกระทรวงศึกษาธิการ ภายใต้การดูแลในนาม โรงเรียนเอกชนนอกระบบ สายงานอาชีวะ โดยมีหลักสูตรระยะสั้น 6 เดือน โดยสอนวิชาการดูแลเด็กเล็ก และการดูแลผู้สูงอายุ
ซึ่งจะผลิตนักศึกษาที่จบออกมาได้รับใบประกาศนียบัตรเป็น “พนักงานผู้ช่วยพยาบาล” ภาษาอังกฤษที่เรียกกัน คือ Nursing Assistant คำย่อ คือ NA ส่วนการเรียนในระดับการพยาบาล ในหลักสูตร “ผู้ช่วยพยาบาล” หรือเรียกกันว่า “Practice Nurse” คำย่อ คือ PN โดยสถาบันที่สามารถเปิดสอนได้คือระดับ มหาวิทยาลัย หรือวิทยาลัย ที่มีคณะพยาบาลศาสตร์ เปิดสอนอยู่ และหลักสูตรนี้ให้เปิดสอนภายใต้คณะพยาบาล ทั้งนี้การเปิดสอนสามารถยื่นขอจดทะเบียนหลักสูตร และขออนุมัติผ่านสภาพยาบาลเสียก่อน
การกำเนิด หรือสร้าง ผู้บริบาล ขึ้นมาในประเทศไทย มีประวัติศาสตร์หลายส่วน เช่น การผลิตผู้บริบาล จากสภากาชาติไทย จากอาสาสมัคร สาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ซึ่งเป็นตัวแทนประชาชนผู้มีจิตอาสา เสียสละ เพื่อช่วยเหลือชาวบ้านในชุมชนของตนเอง ให้ได้รับการดูแลทางด้านสาธารณสุขขั้นพื้นฐานให้ได้ทั่วถึง
คนที่จะเป็นครูฝึกผู้บริบาลในโรงเรียนบริบาล คือพยาบาล RN (Registered Nurse)
ทั้งประเทศเรามีพยาบาลประมาณ 150,000 คน ถ้าคิดอัตราการอบรมเป็น 1 ต่อ 1 ก็ฝึกผู้บริบาลได้เป็นแสนคน ความต้องการผู้บริบาลและครูพี่เลี้ยงเด็กเล็กในชุมชนรวมกันจะเป็นจำนวนหลายแสนคน การมีผู้บริบาลจำนวนมากนี้จะเป็นทั้งการสร้างงาน สร้างคน และสร้างประโยชน์ที่ได้รับจากการบริบาลที่ดี พยาบาลทั้งประเทศอาจจะเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายพยาบาลเพื่อประชาชน และในแต่ละอำเภอหรือเขตรวมตัวกันตั้ง “มูลนิธิพยาบาลเยี่ยมบ้าน” เพื่อให้บริการพยาบาลเยี่ยมบ้านแก่บ้านที่ต้องการ และมูลนิธิในแต่ละอำเภอหรือเขตรับผิดชอบในการฝึกอบรมผู้บริบาลให้เพียงพอต่อความต้องการ โดยวิธีนี้เครือข่ายพยาบาลเพื่อประชาชนจะครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ เป็นเพื่อนและดูแลประชาชนทั้งหมดตั้งแต่ครรภ์มารดาจนถึงเชิงตะกอน ด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์ มนุษย์ต้องการเยียวยา (Healing) อย่างมาก ถ้าทำดีๆ พยาบาลและผู้บริบาลจะเยียวยาโลก (Heal the World) ได้
- การบริบาล บรรเทา
การรักษาบรรเทา, การบริบาลประทัง (อังกฤษ: palliative treatment, palliative care) หรือนิยมเรียกว่าการรักษาแบบประคับประคอง คือการให้การดูแลรักษาแบบใด ๆ ทางการแพทย์ ที่เน้นไปที่การลดความรุนแรงของอาการของโรค มากกว่าจะหยุด ชะลอ หรือย้อนกระบวนการของโรค หรือรักษาให้หายจากโรค เป้าหมายของการรักษาแบบนี้คือเพื่อลดความทุกข์ทรมานและเพิ่มคุณภาพชีวิตให้แก่ผู้ป่วยที่มีโรครุนแรงหรือซับซ้อนมาก การรักษาบรรเทานี้ไม่จำเป็นต้องขึ้นอยู่กับพยากรณ์โรคของผู้ป่วยว่าดีหรือแย่เพียงใด และสามารถให้พร้อมกันกับการรักษาเพื่อให้หายและการรักษาอื่น ๆ ทั้งหลายได้
โรงเรียนบริบาลไม่ใช่โรงเรียนผู้ช่วยพยาบาล
สิ่งที่หลายคนยังสับสนและเข้าใจผิดกันมาตลอด คือ โรงเรียน บริบาล และโรงเรียนผู้ช่วยพยาบาล มีบทความที่ได้นำเสนอไปก่อนหน้านี้ คือ การเรียนหลักสูตรการพยาบาล-มีข้อแตกต่างกันที่ควรรู้ และ การเรียนหลักสูตร พนักงานผู้ช่วยพยายาบาล Nursing Assistant (NA) คือ จะทำให้ท่านกระจ่างข้อสงสัยไปได้ สิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันที่ทำให้ผู้ที่กำลังตัดสินใจเข้ามาเรียนในสายงาน การบริบาล กำลังหาคำตอบให้ตัวเอง ว่า จะเรียนแบบไหนดี สรุปได้ว่า เรียน NA พนักงานผู้ช่วยพยาบาล หลักสูตรระยะสั้น 6 เดือน เรียนที่โรงเรียนบริบาล โดยได้รับรองจากกระทรวงศึกษาธิการ ส่วนการเรียน PN Practice Nurse ผู้ช่วยพยาบาล เรียนที่มหาวิทยาลัย ที่เปิดสอนในคณะพยาบาลศาสตร์ โดยได้รับรองหลักสูตรจากสภาพยาบาล ทั้งสองประกาศนียบัตรเมื่อจบแล้ว สมัครเข้าทำงานในโรงพยาบาล คลีนิก ศูนย์การแพทย์ ศูนย์บริการสาธารณสุข เงินเดือนที่ได้รับ เกือบเท่าๆกัน ไม่ค่อยมีความแตกต่างกันเท่าไหร่ ขึ้นอยู่กับหน่วยงานที่เราไปทำงาน จะรัฐบาลหรือเอกชน เอกชนก็จะสูงกว่าแน่นอน
เรียน โรงเรียนบริบาล ต่อพยาบาลได้ไหมคะ?
คำถามนี้มีถามเข้ามากันเยอะมาก และจะขอตอบให้เข้าใจดังนี้
1.เรียนจบพนักงานผู้ช่วยพยาบาล จากโรงเรียนบริบาลมา
จะต่อพยาบาลได้ คือคุณต้องจบ ม.6 สายวิทย์-คณิต มา แล้วต้องไปสอบเข้าคณะพยาบาลทั้งภาครัฐบาล หรือเอกชนเหมือนเด็กจบ ม.6 ใหม่ ในตอนเอนทรานซ์ และอายุต้องไม่เกิน ตามเกณฑ์ของมหาวิทยาลัยนั้นๆ ย้ำนะครับว่า เมื่อคุณเรียน บริบาลมาแล้ว จะเอาไปเทียบโอนเพื่อใช้ต่อคณะพยาบาลได้ไหม คำตอบคือ ไม่ได้นะครับ เอ้า !!! แล้วคนที่ไม่จบสายวิทย์-คณิต มาจะเรียนพยาบาลได้ไหม? คำตอบคือ ยังไม่มีมหาวิทยาลัย ที่ไหนรับนะครับ เพราะถ้าคุณจะเข้าไปเรียน คุณไม่มีความรู้พื้นฐานวิทย์-คณิต ม.6 มาก็เรียนยากนั่นเอง แต่!! เดี๋ยวก่อน ..คนที่ไม่จบสายวิทย์มาก็อย่าสิ้นหวัง คุณมีโอกาสแล้วที่จะเรียนต่อยอดระดับ ปวส. และป.ตรี ได้ ในคณะบริหารธุรกิจ สาขาธุรกิจสถานพยาบาล ของ วิทยาลัยเทคโนโลยีวิศวกรรมแหลมฉบัง EN-TECH (ผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ สามารถกู้เรียน จาก กยศ. ตั้งแต่ระดับ ปวส. ขึ้นไปได้เลย
โดย EN-TECH และโรงเรียนสยามธัญบุรีบริบบาล ได้ทำการเซนต์สัญญาในความร่วมมือในโครงการ ความร่วมมือพัฒนาบุคคลากรด้าน Healthcare for EEC โดยมีเนื้อหาสำคัญดังนี้ นักเรียนที่เรียนการบริบาลจากเรา สามารถเทียบโอนวิชาการบริบาล จากเรา ไปยังหลักสูตร ปวส. ของ EN-TECH ได้ จำนวน 52 หน่วยกิต ทั้งนี้ตลอดหลักสูตร 2 ปี ปวส.รวมหน่วยกิต 98 หน่วยกิต) นั่นหมายความว่า นักศึกษาที่เรียนกับสยามธัญบุรี บริบาล สามารถสมัครเรียนต่อระดับ ปวส. และเรียนควบคู่ร่วมกันได้เลย และหย่นระยะเวลาที่เหลือเข้าเรียนต่อที่ En-Tech อีก 46 หน่วยกิต ดีไหมละครับ… จากนั้นคุณก็ยังทำงานในสายงานบริบาล มีเงินเดือนส่งตัวเองเรียนต่อ ระดับปริญญาตรีได้อีก
2.เรียนจบผู้ช่วยพยาบาล pn จากมหาวิทยาลัย
เมื่อคุณเรียนจบ pn มานั่นหมายความว่า คุณมีพื้นฐานจากเด็กที่จบสายวิทย์ มาอยู่แล้ว การที่จะเรียนต่อ ระดับปริญญาตรี คณะพยาบาลศาสตร์ ก็ไม่ใช่ปัญหา การที่จะเทียบโอนหน่วยกิตได้หรือไม่นั้น คำตอบคือ อาจจะได้ เมื่อสถาบันที่คุณเรียนต่อเขารองรับวิชาการที่เราจบมานั่นเอง สิ่งที่แนะนำคือคุณควรเรียนต่อในสถาบันเดียวกัน หรือคณะพยาบาลที่คุณเรียนจบมานั่นจะดีที่สุด
พนักงานผู้ช่วยการพยาบาล กับผู้ช่วยพยาบาล แตกต่างกันไหม?
ความแตกต่างของทั้ง 2 ตำแหน่งนี้ ที่เห็นได้ชัดคือ ผู้ที่จะเข้าไปเรียนผู้ช่วยพยาบาล pn นั้น ส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดจะเป็นเด็กที่จบสายวิทย์ และใช้เวลาเรียน 1 ปี มากกว่า ผู้ที่เรียน พนักงานผู้ช่วยพยาบาล na พูดง่ายๆ เลยละครับว่า การเรียนการสอน เข้มข้นมากกว่าทั้งวิชาการ และการปฏิบัติ แต่ทั้งนี้และทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับคุณภาพของสถาบันที่เปิดสอน สุดท้ายแล้วผู้ที่จบออกไป ก็จะไปฏิบัติงาน เป็นผู้ช่วยพยาบาล เป็นผู้ช่วยแพทย์ ในสถานบริการทางการแพทย์ทั่วไป
- สถาบันที่เปิดสอนหลักสูตรผู้ช่วยพยาบาล Practice Nurse (PN)
สถาบันการศึกษาต่างๆ ที่จะทำการเปิดหลักสูตรผู้ช่วยพยาบาล นั้นจะต้องยื่นเรื่องและได้รับการรับรองเปิดหลักสูตร ไปยังสภาพยาบาลอนุมัติเสียก่อน โดยภาพรวมแล้วหลักสูตรผู้ช่วยพยาบาล เรียน 1 ปี เพื่อรองรับการทำงานหรือลดภาระงานให้แก่พยาบาล ที่มีงานหนักเกินอัตรา ดังนั้น หน่วยงานสถานโรงพยาบาลทั่วประเทศ ทั้งโรงพยาบาลรัฐ และโรงพยาบาลเอกชน ก็มีความจำเป็นที่ต้องผลิตผู้ช่วยพยาบาล มารองรับงาน โดยมีการร่วมมือกันกับสถาบันการศึกษา โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยที่มีเปิดสอนหลักสูตรพยาบาลศาสตร์อยู่แล้ว เป็นต้น ท่านสามารถ ดูข้อมูลสถาบันการศึกษา ที่ได้รับรองจาก สภาพยาบาล ตามลิงก์นี้ค่ะ สถาบันที่ทำการสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล ที่สภาพยาบาลให้การรับรอง
- สถาบันหรือโรงเรียนที่เปิดสอนหลักสูตร Nursing Assistant(NA)
หลักสูตรการเรียนการสอน เรียกกันให้ถูกต้องว่า หลักสูตร “พนักงานผู้ช่วยพยาบาล” หรือ “พนักงานผู้ช่วยการพยาบาล” ตามมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 ที่อนุญาตให้โรงเรียนเอกชน ประเภท อาชีวศึกษา มาตรา 15(2) ยื่นความจำนงค์จัดตั้งโรงเรียน กับผู้ว่าราชการจังหวัด และยื่นขอเปิดการสอนหลักสูตรต่อ ศึกษาธิการจังหวัดนั้นๆ โดยวิชาที่สอน หรือประเภทวิชาที่สอน คือ “วิชาการดูแลเด็กเล็ก และการดูแลผู้สูงอายุ” โดยเปิดการสอนระยะสั้น จำนวนชั่วโมงการเรียนทฏษฎี การปฏิบัติ และฝึกงาน อยู่ที่ 6 เดือน หรือไม่น้อยกว่า 840 ชั่วโมง
โดยสรุปแล้วโรงเรียนที่เปิดสอน การเรียนหลักสูตรการพยาบาล ณ ปัจจุบันส่วนใหญ่จะเป็นเอกชนนอกระบบ ที่รองรับการทำธุรกิจการศึกษา มุ่งเน้นเรียนจากขั้นพื้นฐาน จนถึงทำงานได้ ในระยะเวลาสั้น โดยมักจะมีคำว่า “บริบาล” ต่อท้ายชื่อโรงเรียน โรงเรียนเอกชนนอกระบบในประเทศไทย ที่เปิดสอนมีจำนวนมาก ที่อยู่ภายใต้สังกัด กระทรวงศึกษาธิการ โดยหน่วยงานของแต่ละจังหวัดจะเป็นผู้ดูแล
หาที่เรียน โรงเรียนบริบาล ที่ไหนดี?
โรงเรียน สยามธัญบุรีบริบาล ก็เป็นหนึ่งในโรงเรียน ที่ดำเนินการเปิดสอนมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 และผลิตผู้สำเร็จประกาศนียบัตรวิชาการดูแลเด็กเล็กและการดูแลผู้สูงอายุ หลายพันคน อย่างต่อเนื่อง ซึ่งถือว่าเป็นหลักสูตรปกติทั่วไปที่โรงเรียนบริบาล ต่างๆ ทั่วประเทศขออนุญาตเปิดกิจการกันเพิ่มมากขึ้น
ไม่เพียงแค่นั้น อีก 2 ปีต่อมา ด้วยคุณภาพและประสบการณ์ โรงเรียน ได้ทำการขอจดหลักสูตร ผู้ช่วยเภสัชกร Pharmacy Assistant(PA) ได้เป็นผลสำเร็จ และได้รับใบอนุญาตใน วันที่ 29 มกราคม ปี พ.ศ. 2552 (ซึ่งปัจจุบัน ยังไม่โรงเรียนใดได้รับการจดหลักสูตรนี้เลย) ได้ผลิตผู้ช่วยเภสัชกร
บทสรุปบทความ โรงเรียน บริบาล คือ
โรงเรียนเอกชนนอกระบบ ที่เปิดขึ้นมาจากนโยบายภาครัฐ เพื่อต้องการผลิตบุคคลากรทางด้านสาธารณสุข คือการบริบาล โดยเริ่มจากกระทรวงสาธารณสุข ได้มอบหมายให้กระทรวงศึกษาธิการไปดำเนินการร่าง พรบ. การศึกษา ตามมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 ที่อนุญาตให้โรงเรียนเอกชน ประเภท อาชีวศึกษา มาตรา 15(2) ให้ดำเนินการอนุญาตให้โรงเรียนเอกชนต่างๆ ขออนุญาตหลักสูตรการเรียนการสอน ใน วิชาการดูแลเด็กเล็ก และวิชาการดูแลผู้สูงอายุ จำนวนการเรียนไม่น้อยกว่า 840 ชั่วโมง จบแล้วได้ใบประกาศนียบัตรวิชาการดูแลเด็กเล็กและการดูแลผู้สูงอายุ และอีก 1 หลักสูตร คือ ผู้ช่วยเภสัชกร จบแล้วได้ใบประกาศนียบัตรผู้ช่วยเภสัชกร
Comments are closed.