FB pixel
Skip to content

“ผู้ช่วยพยาบาล na” (Nursing Assistant) คืออะไร?

พนักงานผู้ช่วยพยาบาล Nursing Assistant (PA)

ผู้ช่วยพยาบาล na (Nursing Assistant) คือ พนักงานที่จบการเรียนหลักสูตร การดูแลเด็ก และผู้สูงอายุ จากสถาบันหรือโรงเรียนอาชีวะเอกชน โรงเรียนบริบาล บริรักษ์ ใช้เวลาเรียน ระยะสั้น 6 เดือน บางครั้งอาจจะเรียกกันว่า “พนักงานผู้ช่วยพยาบาล” หรือ “พนักงานผู้ช่วยการพยาบาล”  ซึ่งถือว่าเป็นหลักสูตรอาชีวะศึกษาเบื้องต้น ซึ่งเกิดจากนโยบายภาครัฐ โดยมีกระทรวงสาธารณสุข ได้ทำความตกลงมอบหมายให้กระทรวงศึกษาธิการผลิตบุคคลากรทางการแพทย์ ที่ยังขาดแคลนเป็นจำนวนมาก มาทำหน้าที่รองรับงานทางด้านการแพทย์ การเภสัชกรรมและการพยาบาล โดยถือกำเนิด “โรงเรียน บริบาล” ขึ้นอยู่ภายใต้การดูแลควบคุมของกระทรวงศึกษาธิการ

เพื่อให้ผู้ที่จบการศึกษานำไปประกอบอาชีพและช่วยเหลือตนเอง โดยมีระยะเวลาเรียน ภาคทฤษฎี 3 เดือน และฝึกงานปฏิบัติ รวมการฝึกงานจริง 3 เดือน โดยเหมาะสำหรับท่านที่อยากทำงานในโรงพยาบาล เอกชนชั้นนำและรัฐบาล(ทุกแผนก), ศูนย์การแพทย์,คลินิกเวชกรรม, สถานดูแลเด็กเล็ก(Nursery), สถานดูแลผู้สูงอายุ(Nursing Home), ศูนย์สุขภาพ และ โรงเรียนอนุบาลโดยนักศึกษาที่เรียนหลักสูตรนี้ จะได้รับความรู้พื้นฐานทางการพยาบาล เช่น การวัดความดันโลหิต,การช่วยพยาบาลในการให้น้ำเกลือ,อุปกรณ์ทางการแพทย์ต่างๆ เป็นต้น รวมทั้งรายวิชาอื่นๆที่เป็นประโยชน์

ผู้ช่วยพยาบาล na

ในการทำงานผู้ช่วยพยาบาล na เงินเดือน เท่าไหร่?

เมื่อศึกษาจบหลักสูตรแล้วสามารถทำงานได้ทันที ทั้งในโรงพยาบาล เอกชนชั้นนำและรัฐบาล(ทุกแผนก), ศูนย์การแพทย์, คลินิกเวชกรรมสถานดูแลเด็กเล็ก(Nursery), สถานดูแลผู้สูงอายุ(Nursing Home), ศูนย์สุขภาพ และ โรงเรียนอนุบาลเงินเดือนเริ่มต้นที่ 13,000 -15,000 บาท ขึ้นอยู่กับหน่วยงาน และรายได้นี้ยังไม่รวมสวัสดิการต่างๆ อีกมากมาย

ผู้ช่วยพยาบาล na

คุณสมบัติของผู้สมัครเรียนหลักสูตร

ควรมีวุฒิการศึกษาขั้นต่ำคือ มัธยมศึกษาตอนปลาย ม.6 หรือเทียบเท่า บางโรงเรียนอาจรับ วุฒิ ม.3 ในความเห็นของผู้เขียนแนะนำว่าควรจบ ม.6 ดีกว่า เพราะวุฒิภาวะในเรื่องการเรียน และการปฏิบัติงาน ในสถานที่ฝึกงาน น้องๆ ต้องพร้อมในเรื่องการเรียนทฤษฎี และการปฏิบัติอย่างเข้มงวด หลายสถานที่หรือหน่วยงานมักจะไม่ค่อยยอมรับเด็กจบ ม.3 เข้าฝึกงาน เพราะการฝึกงานนั้นส่วนใหญ่เด็กที่เรียนมาต้องพร้อมที่จะฝึก หรือปฏิบัติงานได้ด้วย ข้อกำหนดของโรงเรียนสยามธัญบุรีบริบาลให้ผู้สมัครจะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

  1. ผู้สมัครจะต้องสำเร็จการศึกษา ตั้งแต่มัธยมศึกษาตอนปลาย ม.6,ปวช,ปวส,ปริญญาตรีขึ้นไปหรือเทียบเท่าทุกสาขา
  2. ชาย – หญิง อายุ ตั้งแต่ 18-35 ปี
  3. มีใจรักงานด้านการบริการสุขภาพ
  4. ร่างกายแข็งแรง ไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง

การเรียนหลักสูตรนี้ ช่วยเราในเรื่องการทำงานอย่างไร?

เนื่องด้วยสภาวะเศรษฐกิจถดถอย สถานะการเงินของครอบครัวมักจะประสบปัญหาในการเรียนต่อระดับมหาวิทยาลัย และการเรียนในระดับมหาวิทยาลัยมักมีค่าใช้จ่ายสูง ประกอบกับในสภาวะปัจจุบันการต้องการแรงงานทางด้านสาธารณสุขมีอัตราสูงอย่างต่อเนื่อง การเพิ่มจำนวนของผู้สูงอายุสูงขึ้น และธุรกิจทางด้านการดูแลผู้สูงอายุ (Health Care) มีอัตราขยายตัวอย่างมาก จึงเป็นเหตุหลักที่ หลักสูตรระยะ 6 เดือน ที่ต้องเรียนพร้อมฝึกงานอย่างเข้มข้น จบออกไปรองรับกับงานที่รออยู่ จบแล้วไม่ตกงาน เหมาะกับน้องๆ ที่ต้องการทำงาน

ชุดเครื่องแบบแต่งกันอย่างไร?

การกำหนดเครื่องแบบสำหรับบุคคลากรการพยาบาล ถูกกำหนดมาตราฐานจากหน่วยงานภาครัฐ โดยกระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงสาธารณสุข ที่ต้องระบุเครื่องแบบแยกแยะให้ชัดเจน ว่าพนักงานใดต้องสวมชุดปฏิบัติงานให้ถูกต้องและไม่เกิด การสับสนหรือเข้าใจผิดสำหรับผู้ป่วย หรือประชาชานทั่วไป

ระเบียบชุดแต่งกาย โดยมีรายละเอียดดังนี้

  1. พนักงานผู้ช่วยพยาบาล Nursing Assistant (NA)ที่เห็นในโรงพยาบาลทั่วไป จะสวมชุดเครื่องแบบสีเหลือง(สำหรับผู้หญิง) หรือสีอาจจะเป็นเป็นไปตามแบบของหน่วยงานนั้นๆ หมวกอาจจะสวมหรือไม่สวมก็ได้ และถ้ามีหมวกจะเป็นสีขวา ไม่มีแถบสีดำ ใดๆ บนหมวก
  2. ผู้ช่วยพยาบาล Practice Nursing (PN) จะสวมชุดสีขวาคล้ายพยาบาล แต่แตกต่างที่หมวกจะมีแถบคลาดสีดำ แนวเฉียง
เครดิตภาพ https://cf.shopee.co.th
  • พยาบาล (Nurse) จะสวมชุดสีขวาทั้งเสื้อหรือกระโปรงหรือกางเกง  สวมหมวกสีขวา มีแถบคลาดสีดำแนวนอน (ที่เห็นในภาพคือ อาจารย์สอน ที่เป็น พยาบาลวิชาชีพ 
  • หมวกพยาบาล
    https://cf.shopee.co.th

    ค่าเรียน หลักสูตรผู้ช่วยพยาบาล na

    โรงเรียนสยาม ธัญบุรี บริบาล เปิดรับสมัครนักเรียน ในหลักสูตรผู้ช่วยพยาบาล na โดยเปิดภาคปกติ และภาคควบคู่ออนไลน์ ดูรายละเอียดของหลักสูตร หรือสมัครเรียน คลิกดูได้เลยค่ะ

    ต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติม

    1 thought on ““ผู้ช่วยพยาบาล na” (Nursing Assistant) คืออะไร?”

    1. Pingback: NA กับ PN แตกต่างกันอย่างไร - โรงเรียนสยามธัญบุรีบริบาล

    ใส่ความเห็น