FB pixel
Skip to content

ผู้ช่วยเภสัชกร pharmacy assistant คือ

ผู้ช่วยเภสัชกร

“ผู้ช่วยเภสัชกร” คนที่ฉลาดเลือกลงทุนเรียนกัน

มาทำความเข้าใจและรู้จักกับหลักสูตร ผู้ช่วยเภสัชกร ซึ่งหลายท่านมีความเข้าใจในระดับหนึ่ง บางท่านอาจจะยังสับสนว่ามันคือหลักสูตรอะไรกันแน่?? บางท่านอาจจะเห็นการโฆษณาเรื่องการอบรมคอร์ส “ผู้ช่วยร้านยา” เรียนแล้วทำงานได้หรือ? หลักสูตรผู้ช่วยเภสัชกร ระยะสั้น เรียนเพียงแค่ 5 เดือนจบแล้วทำงาน หากเทียบกับผู้ที่จบปริญญาตรี เภสัชกร จากมหาวิทยาลัย เขาเรียนกัน 5 ปีเลยนะ จะมาสู้วิชาการเขาได้หรือ? เขาใช้เวลาเรียนมากโขเลย อย่างนี้จะไปทำงานแย่งอาชีพเขาละสิ

อันนี้ละเราจะได้มาทำความเข้าใจกันว่า หลักสูตรผู้ช่วยเภสัชกร Pharmacy Assistance หรือเรียกย่อว่า “PA” ซึ่งเอาความเข้าใจตรง ๆ  คือตามชื่อหลักสูตร คุณคือผู้ช่วยเภสัชกร ซึ่งไม่มีความสามารถเทียมเท่าเภสัชกรได้ตามความเป็นจริง แต่ผู้ช่วยสามารถที่จะทำงานเป็นลูกมือ เป็นผู้ช่วยในการดำเนินการจัดจ่ายยา จัดอุปกรณ์ จัดเก็บ อ่านคำสั่งยา อธิบายการใช้ยา พูดให้เข้าใจอีกแบบคือ เป็นผู้ช่วยที่ลดภาระงานให้กับเภสัชกรนั่นเอง ซึ่งปัจจุบันตำแหน่งนี้มีความต้องการเป็นอย่างยิ่ง ด้วยที่งานของเภสัชกรค่อนข้างหนัก และงานบางอย่างเภสัชกร ก็ไม่จำเป็นต้องทำแล้วในระดับที่ผู้ช่วยสามารถทำงานได้ ตามหลักวิชาการที่เรียนมา ทั้งทฤษฎี และฝึกงานปฏิบัติ ก่อนทำงานรับเงินเดือนจริง ซึ่งธุรกิจร้านเภสัชกรรมกำลังมาแรง เราจะเห็นว่าปัจจุบันนี้จะเปิด 24 ชั่วโมง ตามปั๊มน้ำมัน ตามร้านสะดวกซื้อต่าง ๆ ที่จะมีร้านยามาเปิดควบคู่กันอยู่ เพราะมีความต้องการของผู้ซื้ออย่างสูง สะดวกซื้อได้ทุกเขตชุมชน ซึ่งร้านยาทั่วไปอาจจะไม่สามารถเปิดได้เพราะขาดบุคลากรเหล่านี้

ที่มาของหลักสูตร

ที่มาของหลักสูตรนี้ สืบเนื่องมาจากการผลิตบุคลากรทางด้านเภสัชกร การจ่ายยา ช่วยเหลืองานเภสัชกร หรืองานของแทพย์ ในการจ่ายยา หลักสูตรได้ทำตามนโยบายผ่านกระทรวงศึกษาธิการให้ทำการเปิดสอนในโรงเรียนเอกชน นอกระบบ  ในสายงานอาชีวะ โดยโรงเรียนบริบาล หรือวิทยาลัย หรือมหาวิทยาลัย ที่ร่างหลักสูตรจากผู้ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านเภสัชกร และเชี่ยวชาญการสอน ทั้งนี้โรงเรียนธัญบุรี ได้ทำการร่างหลักสูตรนี้ให้กระทรวงศึกษาธิการได้ทำการพิจารณา และทำการนำเสนองานหลักสูตรวิชาที่สอน ขั้นตอนการเรียนการสอน บุคคลาการการสอน ต่อคณะกรรมการผู้พิจารณาร่างหลักสูตร จนสำเร็จผ่านการพิจารณา ในปี พ.ศ. 2552 และได้ทำการเปิดการเรียนการสอน ผลิตนักศึกษาสำเร็จการศึกจำนวนหลายร้อยคน จนถึงปัจจุบัน

สิ่งที่โรงเรียนสยามธัญบุรีบริบาล(ธัญบุรีบริบาล) ได้ปฏิบัติการสอนอย่างเคร่งครัด ด้วยระยะเวลาการสอน 700 ชั่วโมง จบหลักสูตร ต้องอธิบายว่า การเรียนสายวิชาชีพผู้ช่วยเภสัชกร นี้เทียบเท่ากับผู้สำเร็จหลักสูตรระดับปริญญาตรี ในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เรียน 5 ปีนั้น ไม่สามารถเทียบเท่าได้เลย และไม่เป็นเรื่องที่ได้รับการรับรองจาก สภาเภสัชกร เป็นอย่างทางการแน่นอน เพราะการเรียนนั้น เรียนในระยะสั้นมาก ๆ  ซึ่งแน่นอนหน้าที่หรือความรับผิดชอบในการปฏิบัติงานของผู้ช่วยเภสัชกร นั้นต้องทำงานอยู่ภายใต้คำสั่งของเภสัชกร หรือตามคำสั่งยาจากแพทย์ โดยถูกต้อง ซึ่งผู้เรียนนั้นต้องเรียนรู้วิชาการเหล่านี้และต้องสอบให้ผ่าน และต้องฝึกงานจริงในระหว่างหลักสูตรที่เรียนอยู่ด้วย    

ใบอนุญาต หลักสูตรผู้ช่วยเภสัชกร

โรงเรียนสยาม ธัญบุรี บริบาล เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตจากกระทรวงศึกษาธิการ โดยอยู่ภายใต้การควบคุมและอนุมัติหลักสูตร ของ สำนักงานพื้นที่การศึกษาปทุมธานีเขต 2

วัตถุประสงค์หลักสูตร

  1. เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจระบบการทำงานด้านเภสัชกรรมเบื้องต้น
  2. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานทางสรีรวิทยา เภสัชวิทยาและการบริบาลทางเภสัชกรรม
  3. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ในเภสัชภัณฑ์และเวชภัณฑ์พื้นฐาน รวมถึงศัพท์เทคนิคทางวิทยาศาสตร์การแพทย์
  4. ให้ผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานทางสุขอนามัย และโภชนาการ
  5. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้และทักษะที่ถูกต้องไปประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ

คุณสมบัติและพื้นฐานของผู้เรียน

  1. มีพื้นความรู้ขั้นต่ำ ม.6 ขึ้นไปหรือเทียบเท่า (หรือกำลังเรียน ม.4, ม.5 หรือ กศน. หรือกำลังจะจบ ม.6, ปวช.)
  2. มีการทดสอบความรู้ขั้นพื้นฐานตามระเบียบของโรงเรียน (ระหว่างเรียนออนไลน์)
  3. มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์
  4. ไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง หรือจิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ

เรียน ผู้ช่วยเภสัชกร เหมาะสำหรับใคร..?

การเรียนผู้ช่วยเภสัชกร เหมาะสำหรับใคร?

หลักสูตรผู้ช่วยเภสัชกร คือหลักสูตรที่เปิดขึ้นมารองรับ สำหรับนักเรียนที่กำลังเรียน ม.3 ม.4 ม.5 ม.6 กศน. ปวช. ปวส. ปริญญาตรี หรือผู้ที่สำเร็จการศึกษาแล้วและทำงานอยู่ หรือผู้ที่ประสงค์ต้องการเรียนเพื่อเป็นแม่บ้านดูแลครอบครัว หรือผู้ที่สนใจต้องการเรียนเพื่อรับวุฒิประกาศนียบัตร นำไปต่อยอดการทำธุรกิจร้านขายยา คลีนิคความงาม โฮมแคร์ หรือไปทำงานยังต่างประเทศ เป็นต้น

ทำหน้าที่อะไร..?

ผู้ช่วยเภสัชกร ทำหน้าที่อะไร..?

ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการช่วยเภสัชกรในงานเภสัชกรรม ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจนภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบของเภสัชกร และผู้บังคับบัญชา ในหน่วยงานที่ท่านทำงาน ซึ่งมีลักษณะงานเกี่ยวกับการผสมยา การปรุงยา และเวชภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ไม่ยุ่งยาก ซับซ้อน การเก็บรักษา เบิกจ่ายยา เวชภัณฑ์ เครื่องมือ ครุภัณฑ์ทางด้านเภสัชกรรม การจัดและการจ่ายยาตามคำสั่งแพทย์การให้ คำแนะนำในการใช้ยา ภายใต้การควบคุมของเภสัชกร และปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย

วิธีการเรียนหลักสูตรผู้ช่วยเภสัชกร

ระยะเวลา เรียน 5 เดือน (20 สัปดาห์) แบ่งเป็นภาคทฤษฎี 383 ชั่วโมง ฝึกงาน 280 ชั่วโมง รวมเวลาไม่น้อยกว่า 663 ชั่วโมง (ณ ปัจจุบัน 700 ชั่วโมง) หรือ ตามระยะเวลาดังนี้

  1. (กรณีเรียนภาคปกติ) เรียนประจำที่โรงเรียน เรียนทฤษฎี 300 ชั่วโมง หรือเรียนควบคู่ระบบ E-Learning
  2. เรียนภาคปฏิบัติ 120 ชั่วโมง (3 สัปดาห์)
  3. และฝึกงาน 280 ชั่วโมง(ประมาณ 2 เดือน ในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน) ดำเนินการสอนโดยทีมงานอาจารย์เภสัชกรและผู้ทรงคุณวุฒิจากแต่ละสาขา เรียนจบแล้วรับประกาศนียบัตรหลักสูตรผู้ช่วยเภสัชกร โดยรับรองคุณวุฒิจากกระทรวงศึกษาธิการ

จบแล้วได้วุฒิอะไร?

เมื่อนักศึกษาที่ผ่านการเรียนอย่างเคร่งครัด ตามชั่วโมงเรียนที่กำหนด ผ่านการสอบข้อเขียน และสอบภาคปฏิบัติ ในระหว่างการเรียนการสอนในโรงเรียน ระยะ 420 ชั่วโมง หลังจากนั้น นักศึกษา ออกฝึกงานในหน่วยงานต่างๆ ที่โรงเรียนจัดหาให้ท่าน ในระยะเวลา 280 ชั่วโมง (ประมาณ 2 เดือน) นั่นเอง จากนั้นนักศึกษาจึงได้รับ วุฒิประกาศนียบัตรผู้ช่วยเภสัชกร

จบแล้วทำงานที่ไหนได้บ้าง?

ในระหว่างการฝึกงาน นักศึกษาที่เรียนจากโรงเรียนสยามธัญบุรีบริบาล ได้รับการชื่นชมจากหน่วยงานที่เข้าฝึกงานทุกคน และทุกหน่วยงาน ไม่เคยมีที่ใดปฏิเสธการขอฝึกงานจากนักศึกษาของเราสักรายเดียว เพราะชื่อเสียงของมาตรฐานการเรียนของเราสูงและเข้มงวดเป็นอย่างยิ่ง ก่อนที่จะออกไปฝึกงาน เราต้องกลั่นกรองและสอบความพร้อมทุกรายอย่างเข้างวด

งานที่ได้รับหลังจบส่วนใหญ่จะทำงานใน

  • โรงพยาบาลภาครัฐ
  • โรงพยาบาลเอกชน
  • คลินิกเวชกรรม
  • คลินิกเอกชน
  • ศูนย์เสริมความงาม
  • โรงงานผลิตยา
  • บริษัทฯ จำหน่ายยา เป็นต้น

หลายรายหลังจากทำงานไปสักระยะนึง มีช่องทางเปิดร้านขายยาเอง ในภูมิลำเนาของนักศึกษาและประสบผลสำเร็จในการประกอบการกิจการของตนเอง

สรุปบทความว่าด้วยเรื่องหลักสูตรเรียน “ผู้ช่วยเภสัชกร”

หลักสูตรนี้ได้รับการจัดตั้งหลักสูตรเปิดให้สอน ภายใต้การควบคุมจากกระทรวงศึกษาธิการ เป็นไปตามการร่างหลักสูตรของโรงเรียนสยามธัญบุรีบริบาล (เดิม โรงเรียนธัญบุรีบริบาล) โดยเรียนทั้งหมดไม่น้อยกว่า 663 ชั่วโมง (700 ชั่วโมง ณปัจจุบัน) โดยคุณสมบัติของผู้เรียน จบ ม.6 ขึ้นไป หรือ ปวช. หรือ กศน. หรือผู้ที่จบปริญญาตรี ก็เรียนได้ โดยมีหน้าที่ในการทำงานเป็นผู้ช่วยเหลือเภสัชกรในการจ่ายยา การจัดยา การจัดเก็บ การจัดอุปกรณ์ การบันทึกการใช้ยา ซึ่งอยู่ภายใต้คำสั่งของแพทย์ และเภสัชกร เรียนจบแล้วได้วุฒิประกาศนียบัตร ผู้ช่วยเภสัชกร (Pharmacy Assistant) ภายใต้การรับรองโดยกระทรวงศึกษาธิการอย่างถูกต้อง จบแล้วสามารถปฏิบัติงานร้านยา โรงพยาบาล โรงงานผลิตยา คลีนิกเภสัชกรรม โดย เงินเดือน อยู่ที่ 15,000 – 18,000 บาท

หากท่านเห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์ต่อผู้สนใจในการเรียนหลักสูตร ช่วยกันแชร์ความรู้เหล่านี้ต่อไปด้วย

รายการหลักสูตรเรียนผู้ช่วยเภสัชกร

สนใจติดต่อขอรายละเอียด