FB pixel
Skip to content

การเรียนหลักสูตรการพยาบาล 3 ข้อแตกต่างที่ควรรู้

การเรียนหลักสูตรการพยาบาล

ข้อควรรู้ การเรียนหลักสูตรการพยาบาล มีข้อแตกต่างกันที่ควรรู้ “พยาบาล” “ผู้ช่วยพยาบาล” “พนักงานผู้ช่วยพยาบาล” ณ ปัจจุบัน ความเข้าใจของผู้คนทั่วไปยังคงสับสนว่า การเรียนการสอนของ การเป็นพยาบาล นั้นมีหลักสูตรการเรียนการสอนอย่างไร เนื้อหาบทความนี้จะสร้างความเข้าใจให้มากขึ้นสำหรับผู้ที่วางแผนการเรียน เข้าสู่การเป็นบุคคลากรทางด้านการพยาบาล โดย ท่านจะได้สาระตามหัวข้อดังนี้

  1. ระยะเวลาการเรียนในหลักสูตรต่างๆ
  2. สถาบันหรือโรงเรียน ต่างๆที่เปิดการสอน
  3. คุณสมบัติของผู้เรียน

คุณจะได้อะไรจากบทความนี้ เลือกหัวข้อทางลัดที่ต้องการอ่าน

ระยะเวลาการเรียนหลักสูตรการพยาบาลต่างๆ

ทั้ง 3 หลักสูตรนั้นมีความแตกต่างกันด้วยการเรียนวิชาการพยาบาลต่างๆ โดยมีนัยยะสำคัญที่จะต้องนำไปใช้ในขอบเขตของงานหรือปฏิบัติหน้าที่ในขอบเขตรับผิดชอบ ตามที่ได้รับรองการจบหลักสูตร อาทิ ปริญญา หรือใบประกาศนียบัตร เป็นต้น โดยแบ่งเป็นดังนี้

  1. พยาบาลศาสตร์ Register Nurse(RN) ใช้ระยะเวลาเรียน 4 ปี ในคณะพยาบาลศาสตร์ ที่เปิดการเรียนการสอนใน มหาวิทยาลัยต่างๆ ภายในประเทศ โดยจบออกมาจะได้รับ ปริญญาบัตร (วทบ.) หรือ ปริญญาบัตร (พยายาบศสตร์) หลังจากนั้น จะต้องนำวุฒิการศึกษา ไปสอบยังสภาพยาบาล  (Thailand Nursing and Midwifery Council) เพื่อรับรอง
  2. ผู้ช่วยพยาบาล Prictice Nurse(PN) ใช้ระยะเวลาเรียน 1 ปี ในคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยต่างๆ ที่เปิดการเรียนการสอน โดยจบออกมาจะได้รับ ใบประกาศนียบัตร หลังจากนั้น จะต้องนำวุฒิการศึกษา ไปสอบยังสภาพยาบาล เพื่อรับรอง
  3. พนักงานผู้ช่วยพยาบาล Nursing Assitant(NA) หรือพนักงานผู้ช่วยการพยาบาล ใช้ระยะเวลาเรียน 6 เดือน เปิดเรียน ในสถาบัน โรงเรียนบริบาล ต่างๆ ในประเทศไทย ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นโรงเรียนเอกชนนอกระบบ สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ โดยจบออกมาจะได้รับใบประกาศนียบัตรจากสถาบันต่างๆที่จบมา โดยได้รับการรับรองจากกระทรวงศึกษา (แต่ไม่ได้ขึ้นตรงหรือรับรองโดยสภาการพยาบาล)

สถาบันหรือสถานที่การเรียนหลักสูตรการพยาบาลต่างๆ

สถาบันการศึกษาในประเทศไทย ณ ปัจจุบัน ได้เร่งเปิดการเรียนการสอนเพื่อผลิตบุคคลาการ การพยาบาล เพื่อป้อนแรงงานให้แก่ภาครัฐและเอกชน ซึ่งยังขาดแคลนอยู่เป็นจำนวนมาก ประกอบกับปัจจัยของประชากรอัตราเพิ่มลดลง และการเพิ่มของผู้สูงวัย ในมีอัตราเพิ่มขึ้น พูดง่ายว่า “ผู้คนเริ่ม ตายยากขึ้น” การดูแลผู้ป่วย เปรียบเทียบกับผู้ปฏิบัติงานการพยาบาล มีอัตราสวนทางกันอย่างเห็นเป็นรูปธรรม

การเรียนหลักสูตรการพยาบาล

โดยเฉพาะสถานะการณ์การแพร่เชื้อระบาดของโรคต่าง ๆ เกิดขึ้นบนผืนโลกใบนี้มีอย่างต่อเนื่อง เช่น การระบาดของเชื้อโควิด-19 ล่าสุด ซึ่งนำมาถึงปัญหาบุคคลาการ การแพทย์ การพยาบาลนั้นไม่พอกับความจำเป็นโดยเฉพาะหน้า มาดูกันว่าสถาบันการศึกษาที่ไหน มุ่งผลิตนักศึกษาที่จบออกมาแล้ว เข้าทำงานโดยที่ทิศทางแนวโน้มที่สูงมากว่าไม่มีการตกงาน

สถาบันที่เปิดสอนหลักสูตรการพยาบาล ได้แก่

รายชื่อคณะพยาบาลศาสตร์ในประเทศไทย

สถาบันอุดมศึกษารัฐบาล

คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (เปิดสอนในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก)
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครพนม มหาวิทยาลัยนครพนม
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
คณะพยาบาลศาสตร์ แมคคอร์มิค มหาวิทยาลัยพายัพ
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ภาควิชาพยาบาลศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (เปิดสอนเฉพาะหลักสูตร 2 ปีต่อเนื่อง)
คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมิทราธิราช
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

วิทยาลัยพยาบาลสังกัดหน่วยงานอื่น

วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย
วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก
วิทยาลัยพยาบาลกองทัพเรือ
วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ
วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ

วิทยาลัยพยาบาลสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พระพุทธบาท
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา
วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี
วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี
วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์

สถาบันอุดมศึกษาเอกชน

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี
คณะพยาบาลศาสตร์แมคคอร์มิค มหาวิทยาลัยพายัพ
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น วิทยาเขตกาญจนบุรี
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น วิทยาเขตวัชรพล
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น วิทยาเขตบุรีรัมย์
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (หลักสูตรนานาชาติ)
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงราย
คณะพยาบาลศาสตร์มิชชั่น มหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย-แปซิฟิก
คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยเฉลิมกาญจนา
คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยเซนต์หลุยส์
คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา (หลักสูตรนานาชาติ)
คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย

เครดิตข้อมูล : http://nu.cpru.ac.th/thai/?page_id=573

สถาบันที่เปิดสอนหลักสูตรผู้ช่วยพยาบาล Practice Nurse (PN)

สถาบันการศึกษาต่างๆ ที่จะทำการเปิดหลักสูตรผู้ช่วยพยาบาล นั้นจะต้องยื่นเรื่องและได้รับการรับรองเปิดหลักสูตร ไปยังสภาพยาบาลอนุมัติเสียก่อน โดยภาพรวมแล้วหลักสูตรผู้ช่วยพยาบาล เรียน 1 ปี เพื่อรองรับการทำงานหรือลดภาระงานให้แก่พยาบาล ที่มีงานหนักเกินอัตรา ดังนั้น หน่วยงานสถานโรงพยาบาลทั่วประเทศ ทั้งโรงพยาบาลรัฐ และโรงพยาบาลเอกชน ก็มีความจำเป็นที่ต้องผลิตผู้ช่วยพยาบาล มารองรับงาน โดยมีการร่วมมือกันกับสถาบันการศึกษาโดยเฉพาะมหาวิทยาลัย หรือวิทยาลัย ที่มีเปิดสอนหลักสูตรพยาบาลศาสตร์อยู่แล้ว เป็นต้น ท่านสามารถ ดูข้อมูลสถาบันการศึกษา ที่ได้รับรองจาก สภาพยาบาล ตามลิงก์นี้ค่ะ  สถาบันที่ทำการสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล ที่สภาพยาบาลให้การรับรอง

สถาบันหรือโรงเรียนที่เปิดสอนหลักสูตร Nursing Assistant(NA)

หลักสูตรการเรียนการสอน เรียกกันให้ถูกต้องว่า หลักสูตร “พนักงานผู้ช่วยพยาบาล” หรือ “พนักงานผู้ช่วยการพยาบาล” ตามมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 ที่อนุญาตให้โรงเรียนเอกชน ประเภท อาชีวศึกษา มาตรา 15(2) ยื่นความจำนงค์จัดตั้งโรงเรียน กับผู้ว่าราชการจังหวัด และยื่นขอเปิดการสอนหลักสูตรต่อ ศึกษาธิการจังหวัดนั้นๆ โดยวิชาที่สอน หรือประเภทวิชาที่สอน คือ “วิชาการดูแลเด็กเล็ก และการดูแลผู้สูงอายุ” โดยเปิดการสอนระยะสั้น จำนวนชั่วโมงการเรียนทฏษฎี การปฏิบัติ และฝึกงาน อยู่ที่ 6 เดือน หรือไม่น้อยกว่า 840 ชั่วโมง


โดยสรุปแล้วโรงเรียนที่เปิดสอน การเรียนหลักสูตรการพยาบาล ณ ปัจจุบันส่วนใหญ่จะเป็นเอกชนนอกระบบ ที่รองรับการทำธุรกิจการศึกษา มุ่งเน้นเรียนจากขั้นพื้นฐาน จนถึงทำงานได้ ในระยะเวลาสั้น โดยมักจะมีคำว่า “บริบาล” ต่อท้ายชื่อโรงเรียน
โรงเรียนเอกชนนอกระบบในประเทศไทย ที่เปิดสอนมีจำนวนมาก ที่อยู่ภายใต้สังกัด กระทรวงศึกษาธิการ โดยหน่วยงานของแต่ละจังหวัดจะเป็นผู้ดูแล

โรงเรียน สยามธัญบุรีบริบาล ก็เป็นหนึ่งในโรงเรียน ที่ดำเนินการเปิดสอนมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 และผลิตผู้สำเร็จประกาศนียบัตรวิชาการดูแลเด็กเล็กและการดูแลผู้สูงอายุ หลายพันคน อย่างต่อเนื่อง ซึ่งถือว่าเป็นหลักสูตรปกติทั่วไปที่โรงเรียนบริบาล ต่างๆ ทั่วประเทศขออนุญาตเปิดกิจการกันเพิ่มมากขึ้น

การเรียนหลักสูตรการพยาบาล

ไม่เพียงแค่นั้น อีก 2 ปีต่อมา ด้วยคุณภาพและประสบการณ์ โรงเรียน ได้ทำการขอจดหลักสูตร ผู้ช่วยเภสัชกร Pharamacy Assistant(PA) ได้เป็นผลสำเร็จ และได้รับใบอนุญาตใน วันที่ 29 มกราคม ปี พ.ศ. 2552 (ซึ่งปัจจุบัน ยังไม่โรงเรียนใดได้รับการจดหลักสูตรนี้เลย) ได้ผลิตผู้ช่วยเภสัชกร

คุณสมบัติของผู้เรียน

  1. พยาบาล Register Nurse (RN)ผู้เรียนต้อง จบ ม.6 สายวิทย์-คณิต (ซึ่งอาจจะมีการรับนักศึกษาที่ ไม่ได้จบ สายวิทย์-คณิต บางมหาวิทยาลัย)
  2. ผู้ช่วยพยาบาล Practice Nurse(PN)ผู้เรียนต้องจบ ม.6 สายวิทย์-คณิต (ซึ่งอาจจะมีการรับนักศึกษาที่ ไม่ได้จบ สายวิทย์-คณิต บางมหาวิทยาลัย)
  3. พนักงานผู้ช่วยการพยาบาล Nursing Assistant(PA) รับอายุส่วนใหญ่ 15-35 ปี จบ ม.3 หรือ ม.6 เป็นอย่างต่ำ ***ทำไมถึง รับ ม.3 หรือ ม.6 ได้ทั้งสองวุฒิ ประเด็นการฝึกงานของโรงพยาบาล จะไม่รับการฝึกงานของเด็ก จบ ม.3 รับเฉพาะ ม.6 ขึ้นไป –ส่วนเด็ก ม.3 ก็จะฝึกงานที่สถาบันเอกชน โฮมแคร์ หรือคลีนิก ประมาณนี้

สรุปแล้วข้อแตกต่างที่ควรรู้เกี่ยวกับ การเรียนหลักสูตรการพยาบาล

คือ ระยะเวลาเรียนต่างกัน สถาบันการรับรองวิทยฐานะ โดยสภาพยาบาล จะรับรองให้ หลักสูตรพยาบาล และผู้ช่วยพยาบาลเท่านั้น ส่วนพนักงานผู้ช่วยการพยาบาล จะเป็นการรับรองโดยกระทรวงศึกษาธิการ ภายใต้สังกัดโรงเรียนเอกชนนอกระบบ และสุดท้ายตือวุฒิการศึกษาของผู้เรียน มีข้อแตกต่างกัน