มารู้จักกับหลักสูตร เรียนผู้ช่วยเภสัชกร ซึ่งหลายท่านมีความเข้าใจในระดับหนึ่ง บางท่านอาจจะยังสับสนว่ามันคือหลักสูตรอะไรกันแน่ บางท่านอาจจะเห็นการโฆษณาเรื่องการอบรมคอร์ส “ผู้ช่วยร้านยา” เรียนแล้วทำงานได้หรือ เรียนเพียงแค่ระยะสั้นๆ 5 เดือนจบแล้วทำงาน หากเทียบกับผู้ที่จบปริญญาตรี เภสัชกร จากมหาวิทยาลัย เขาเรียนกัน 5 ปีเลยนะ จะมาสู้วิชาการเขาได้หรือ? เขาใช้เวลาเรียนมากโขเลย อย่างนี้จะไปทำงานแย่งอาชีพเขาละสิ อันนี้ละเราจะได้มาทำความเข้าใจกันว่า หลักสูตรผู้ช่วยเภสัชกร Pharmacy Assistance หรือเรียกย่อว่า “PA”
ซึ่งเอาความเข้าใจตรง ๆ คือตามชื่อลักสูตร คุณคือผู้ช่วยเภสัชกร ซึ่งไม่มีความสามารถเทียมเท่าเภสัชกรได้ตามความเป็นจริง แต่ผู้ช่วยสามารถที่จะทำงานเป็นลูกมือ เป็นผู้ช่วยในการดำเนินการจัดจ่ายยา จัดอุปกรณ์ จัดเก็บ อ่านคำสั่งยา อธิบายการใช้ยา พูดให้เข้าใจอีกแบบคือ เป็นผู้ช่วยที่ลดภาระงานให้กับเภสัชกรนั่นเอง ซึ่งปัจจุบันตำแหน่งนี้มีความต้องการเป็นอย่างยิ่ง ด้วยที่งานของเภสัชกรค่อนข้างหนัก และงานบางอย่างเภสัชกร ก็ไม่จำเป็นต้องทำแล้วในระดับที่ผู้ช่วยสามารถทำงานได้ ตามหลักวิชาการที่เรียนมา ทั้งทฤษฎี และฝึกงานปฏิบัติ ก่อนทำงานรับเงินเดือนจริง ซึ่งธุรกิจร้านเภสัชกรรมกำลังมาแรง เราจะเห็นว่าปัจจุบันนี้จะเปิด 24 ชั่วโมง ตามปั๊มน้ำมัน ตามร้านสะดวกซื้อต่าง ๆ ที่จะมีร้านยามาเปิดควบคู่กันอยู่ เพราะมีความต้องการของผู้ซื้ออย่างสูง สะดวกซื้อได้ทุกเขตชุมชน ซึ่งร้านยาทั่วไปอาจจะไม่สามารถเปิดได้เพราะขาดบุคลากรเหล่านี้
คุณจะได้อะไรจากบทความนี้ เลือกหัวข้อทางลัดที่ต้องการอ่าน
ที่มาของหลักสูตรผู้ช่วยเภสัชกร ของโรงเรียนสยามธัญบุรีบริบาล
ที่มาของหลักสูตรนี้ สืบเนื่องการผลิตบุคลากรทางด้านเภสัชกร การจ่ายยา ช่วยเหลืองานเภสัชกร หรืองานของแทพย์ ในการจ่ายยา หลักสูตรได้ทำตามนโยบายผ่านกระทรวงศึกษาธิการให้ทำการเปิดสอนในโรงเรียนเอกชน นอกระบบ ในสายงานอาชีวะ โดยโรงเรียนบริบาล หรือวิทยาลัย หรือมหาวิทยาลัย ที่ร่างหลักสูตรจากผู้ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านเภสัชกร และเชี่ยวชาญการสอน ทั้งนี้โรงเรียนธัญบุรี ได้ทำการร่างหลักสูตรนี้ให้กระทรวงศึกษาธิการได้ทำการพิจารณา และทำการนำเสนองานหลักสูตรวิชาที่สอน ขั้นตอนการเรียนการสอน บุคคลาการการสอน ต่อคณะกรรมการผู้พิจารณาร่างหลักสูตร จนสำเร็จผ่านการพิจารณา ในปี พ.ศ. 2551 และได้ทำการเปิดการเรียนการสอน ผลิตนักศึกษาสำเร็จการศึกจำนวนหลายร้อยคน จนถึงปัจจุบัน
สิ่งที่โรงเรียนสยามธัญบุรีบริบาล(ธัญบุรีบริบาล) ได้ปฏิบัติการสอนอย่างเคร่งครัด ด้วยระยะเวลาการสอน 700 ชั่วโมง จบหลักสูตร ต้องอธิบายว่า การเรียนสายวิชาชีพผู้ช่วยเภสัชกร นี้เทียบเท่ากับผู้สำเร็จหลักสูตรระดับปริญญาตรี ในหมาหวิทยาลัยต่าง ๆ เรียน 5 ปีนั้น ไม่สามารถเทียบเท่าได้เลย และไม่เป็นเรื่องที่ได้รับการรับรองจาก สภาเภสัชกร เป็นอย่างทางการแน่นอน เพราะการ เรียนผู้ช่วยเภสัชกรนั้น เรียนในระยะสั้นมาก ๆ ซึ่งแน่นอนหน้าที่หรือความรับผิดชอบในการปฏิบัติงานของผู้ช่วยเภสัชกร นั้นต้องทำงานอยู่ภายใต้คำสั่งของเภสัชกร หรือตามคำสั่งยาจากแพทย์ โดยถูกต้อง ซึ่งผู้เรียนนั้นต้องเรียนรู้วิชาการเหล่านี้และต้องสอบให้ผ่าน และต้องฝึกงานจริงในระหว่างหลักสูตรที่เรียนอยู่ด้วย
เรียนผู้ช่วยเภสัชกร แล้วได้อะไรบ้าง?
ในระหว่างการฝึกงาน นักศึกษาที่เรียนจากโรงเรียนสยามธัญบุรีบริบาล ได้รับการชื่นชมจากหน่วยงานที่เข้าฝึกงานทุกคน และทุกหน่วยงาน ไม่เคยมีที่ใดปฏิเสธการขอฝึกงานจากนักศึกษาของเราสักรายเดียว เพราะชื่อเสียงของมาตรฐานการเรียนของเราสูงและเข้มงวดเป็นอย่างยิ่ง ก่อนที่จะออกไปฝึกงาน เราต้องกลั่นกรองและสอบความพร้อมทุกรายอย่างเข้างวด งานที่ได้รับหลังจบส่วนใหญ่จะ
- ทำงานปฏิบัติห้องยาในโรงพยาบาลภาครัฐ
- ทำงานปฏิบัติห้องยาในโรงพยาบาลภาครัฐ
- ทำงานในโรงงานผลิตยา
- ร้านเภสัชกร(ร้านขายยา)
- คลีนิกเวชกรรม
- คลีนิกเสริมความงาม
- เปิดกิจการร้านยา
ทำงานในโรงพยาบาลภาครัฐ และโรงพยาบาลเอกชน และคลินิกเวชกรรม คลินิกเอกชน ศูนย์เสริมความงาม เป็นต้น หลายรายหลังจากทำงานไปสักระยะนึง มีช่องทางเปิดร้านขายยาเอง ในภูมิลำเนาของนักศึกษาและประสบผลสำเร็จในการประกอบการกิจการของตนเอง
วัตถุประสงค์หลักสูตรเรียนผู้ช่วยเภสัชกร
- เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจระบบการทำงานด้านเภสัชกรรมเบื้องต้น
- เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานทางสรีรวิทยา และการบริบาลทางเภสัชกรรม
- เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ในเภสัชภัณฑ์และเวชภัณฑ์พื้นฐาน รวมถึงศัพท์เทคนิคทางวิทยาศาสตร์การแพทย์
- ให้ผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานทางสุขอนามัย และโภชนาการ
- เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้และทักษะที่ถูกต้องไปประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คุณสมบัติและพื้นฐานของผู้เรียน ผู้ช่วยเภสัชกร
- มีพื้นความรู้ขั้นต่ำ ม.6 ขึ้นไปหรือเทียบเท่า (หรือกำลังเรียน ม.4, ม.5 หรือ กศน. หรือกำลังจะจบ ม.6, ปวช.)
- มีการทดสอบความรู้ขั้นพื้นฐานตามระเบียบของโรงเรียน (ระหว่างเรียนออนไลน์)
- มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์
- ตามประกาศกฎหมาย หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
หลักสูตรเรียนผู้ช่วยเภสัชกร เหมาะสำหรับใคร..?
หลักสูตรผู้ช่วยเภสัชกร คือหลักสูตรที่เปิดขึ้นมารองรับ สำหรับนักเรียนที่กำลังเรียน ม.3 ม.4 ม.5 ม.6 กศน. ปวช. ปวส. ปริญญาตรี หรือผู้ที่สำเร็จการศึกษาแล้วและทำงานอยู่ หรือผู้ที่ประสงค์ต้องการเรียนไป เป็นแม่บ้านดูแลครอบครัว หรือผู้ที่สนใจต้องการเรียนเพื่อรับวุฒิประกาศนียบัตร นำไปต่อยอดการทำธุรกิจร้านขายยา คลีนิคความงาม โฮมแคร์ หรือไปทำงานยังต่างประเทศ เป็นต้น
เรียนผู้ช่วยเภสัชกร จบแล้วทำหน้าที่อะไร..?
ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการช่วยเภสัชกรในงานเภสัชกรรม ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจนภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบของเภสัชกร และผู้บังคับบัญชา ในหน่วยงานที่ท่านทำงาน ซึ่งมีลักษณะงานเกี่ยวกับการผสมยา การปรุงยา และเวชภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ไม่ยุ่งยาก ซับซ้อน การเก็บรักษา เบิกจ่ายยา เวชภัณฑ์ เครื่องมือ ครุภัณฑ์ทางด้านเภสัชกรรม การจัดและการจ่ายยาตามคำสั่งแพทย์การให้ คำแนะนำในการใช้ยา ภายใต้การควบคุมของเภสัชกร และปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
วิธีการเรียนหลักสูตรผู้ช่วยเภสัชกร
หลักสูตรผู้ช่วยเภสัชกร แบ่งเป็นภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ รวม 700 ชั่วโมง หรือ 5 เดือน ตามระยะเวลาดังนี้
- (กรณีเรียนภาคปกติ) เรียนประจำที่โรงเรียน เรียนทฤษฎี 300 ชั่วโมง หรือเรียนควบคู่ระบบ E-Learning
- ภาคปฏิบัติ 120 ชั่วโมง
- และฝึกงาน 280 ชั่วโมง(ประมาณ 2 เดือน ในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน) ดำเนินการสอนโดยทีมงานอาจารย์เภสัชกรและผู้ทรงคุณวุฒิจากแต่ละสาขา เรียนจบแล้วรับประกาศนียบัตรหลักสูตรผู้ช่วยปฏิบัติการด้านยา โดยรับรองคุณวุฒิจากกระทรวงศึกษาธิการ
การคัดเลือกและคุณสมบัติเข้าศึกษา
กำหนดให้ผู้สมัครจะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
- ผู้สมัครจะต้องสำเร็จการศึกษา ตั้งแต่มัธยมศึกษาตอนปลายปีที่ 6,ปวช,ปวส, ปริญญาตรีขึ้นไปหรือเทียบเท่าทุกสาขา
- ชาย – หญิง อายุ ตั้งแต่ 18-35 ปี
- มีใจรักงานด้านการบริการสุขภาพ
- ร่างกายแข็งแรง ไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง
เอกสารการสมัครเข้าศึกษา
เอกสารที่ผู้สมัครต้องนำมาในวันสมัคร มีดังนี้
- ใบสมัครที่กรอกไว้เรียบร้อยแล้ว
- สำเนาใบรายงานผลคะแนนฉบับสมบูรณ์จากสถาบันการศึกษาที่ผู้สมัครสำเร็จการศึกษา 2 ฉบับ
- รูปถ่ายหน้าตรง ขนาด 1 นิ้ว 2 รูป (ถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน)
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน 2 ฉบับ
- สำเนาทะเบียนบ้าน 2 ฉบับ
- หลักฐานการเปลี่ยนชื่อ-สกุล 2 ฉบับ (ถ้ามี)
- ใบรับรองแพทย์ 1 ฉบับ
เรียนผู้ช่วยเภสัชกร จบแล้วได้วุฒิอะไร?
เมื่อนักศึกษาที่ผ่านการเรียนอย่างเคร่งครัด ตามชั่วโมงเรียนที่กำหนด ผ่านการสอบข้อเขียน และสอบภาคปฏิบัติ ในระหว่างการเรียนการสอนในโรงเรียน ระยะ 420 ชั่วโมง หลังจากนั้น นักศึกษา ออกฝึกงานในหน่วยงานต่างที่โรงเรียนหาให้ท่าน ในระยะเวลา 280 ชั่วโมง (ประมาณ 2 เดือน) นั่นเอง จากนั้นนักศึกษาจึงได้รับ วุฒิประกาศนียบัตรจบหลักสูตร ผู้ช่วยเภสัชกร
สรุปบทความว่าด้วยเรื่องหลักสูตร “เรียนผู้ช่วยเภสัชกร”
หลักสูตรนี้ได้รับการจัดตั้งหลักสูตรเปิดให้สอน ภายใต้การควบคุมจากกระทรวงศึกษาธิการ เป็นไปตามการร่างหลักสูตรของโรงเรียนสยามธัญบุรีบริบาล (เดิม โรงเรียนธัญบุรีบริบาล) โดยเรียนทั้งหมดไม่น้อยกว่า 663 ชั่วโมง (700 ชั่วโมง ณปัจจุบัน) โดยคุณสมบัติของผู้เรียน จบ ม.6 ขึ้นไป หรือ ปวช. หรือ กศน. หรือผู้ที่จบปริญญาตรี ก็เรียนได้ โดยมีหน้าที่ในการทำงานเป็นผู้ช่วยเหลือเภสัชกรในการจ่ายยา การจัดยา การจัดเก็บ การจัดอุปกรณ์ การบันทึกการใช้ยา ซึ่งอยู่ภายใต้คำสั่งของแพทย์ และเภสัชกร เรียนจบแล้วได้วุฒิประกาศนียบัตร ผู้ช่วยเภสัชกร (Pharmacy Assistant) ภายใต้การรับรองโดยกระทรวงศึกษาธิการอย่างถูกต้อง จบแล้วสามารถปฏิบัติงานร้านยา โรงพยาบาล โรงงานผลิตยา คลีนิกเภสัชกรรม โดยรายได้ที่เดือนละ 15,000 – 18,000 บาท
หากท่านเห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์ต่อผู้สนใจในการเรียนหลักสูตร ช่วยกันแชร์ความรู้เหล่านี้ต่อไปด้วย