หลักสูตรการเรียน ภาคปกติ เปิดการสอน ของโรงเรียนสยามธัญบุรีบาล ประจำปีการศึกษา พ.ศ. 2563 – 2564 ได้ทำการวางปฏิทินการศึกษาให้สอดคล้องกับการศึกษาไทย ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้กำหนดตารางเรียนไว้ เมื่อเด็กนักเรียน ทั้งสายสามัญและสายอาชีวะ สามารถสมัครเข้าเรียนต่อได้อย่างไม่สะดุด และเว้นระยะ ทำให้ไม่เสียเวลาการเรียน และการฝึกงาน ในหน่วยงานสายบริบาลต่างๆ จบได้อย่างรวดเร็ว และประกอบอาชีพทำงาน
การเรียนการสอนของหลักสูตรเรียน ภาคปกติ ได้กำหนดวิชาการ ความรู้ทางทฤษฎี ในระยะเวลาที่บังคับโดยระเบียบของหลักสูตรเป็นไปตาม ใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียน ปท 2001 / 2550 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ.2552 อนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียน ธัญบุรีบริบาล(ชื่อเดิม) ในเขตจังหวัดปทุมธานี ประเภทโรงเรียน อาชีวศึกษษ มาตรา 15(2) หลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการที่ได้รับอนุญาต ทำการสอนตั้งแต่ ชั้นต้น – ประกอบอาชีพได้ โดยมีวิชาที่เปิดสอน คือ วิชาการดูแลเด็กเล็ก และการดูแลผู้สูงอายุ ให้ไว้ ณ วันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นมา
จากนั้นโรงเรียนฯ ได้ทำการจดหลักสูตรเพิ่ม คือ หลักสูตรผู้ช่วยเภสัชกร ใบอนุญาตเลขที่ ปท(2) 03/2552 (ที่ ศธ 04087/526) ออกให้เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 โรงเรียนได้ทำการเปิดการเรียนสอนตั้งนั้นเป็นต้นมา
คุณจะได้อะไรจากบทความนี้ เลือกหัวข้อทางลัดที่ต้องการอ่าน
วัตถุประสงค์ของหลักสูตรการเรียน ภาคปกติ
การเรียนภาคปกตินั้น มีเวลาในการเรียนภาคทฤษฎีอย่างต่อเนื่อง ระยะเวลาไม่น้อยกว่า 3 เดือน นักเรียนต้องเรียนอย่างต่อเนื่อง เป็นประจำที่โรงเรียน โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
- นักเรียนต้องเรียนต่อเนื่อง ตั้งแต่พื้นฐาน จนจบหลักสูตรปฏิบัติงานได้ ระยะเวลา 420 ชั่วโมงสำหรับหลักสูตร ผู้ช่วยพยาบาล NA และ ผู้ช่วยเภสัชกร
- เพื่อให้นักเรียนมีกิจกรรมการเรียน การพัฒนาตนเองเข้าสู่สายอาชีพการบริบาล
- ให้เรียนภาคปฏิบัติก่อนออกฝึกงาน
- นักเรียนมีกิจกรรมสัมพันธ์ในเพื่อนร่วมชั้น เพื่อพัฒนาไปสู่ในความเป็นเลิศของผู้ให้บริบาล อย่างมืออาชีพ
ปฏิทินปีการศึกษา 2564 หลักสูตรการเรียน ภาคปกติ
ปิดตามนโยบายของรัฐบาล
** นักเรียนยังคงสามารถเรียนออนไลน์ได้**
หลักสูตรการเรียน ภาคปกติ ที่เปิดสอน
ทำไมนักเรียนถึงเลือกเรียนที่นี่ หลักสูตรภาคเรียนปกติ
มีเหตุผลหลายอย่างที่ลูกศิษย์ของโรงเรียนสยามธัญบุรีบริบาล ได้เลือกตัดสินใจ มาเรียนที่นี่ มีดังนี้
- โรงเรียนของเรามีประสบการณ์การเรียนการสอนมานาน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549
- โรงเรียนฯ มีใบอนุญาตหลักสูตร ที่ได้รับรองจากกระทรวงศึกษาธิการอย่างถูกต้องตามกฏหมาย ได้แก่ หลักสูตรผู้ช่วยเภสัชกร หลักสูตรผู้ช่วยพยาบาล
- คุณภาพของนักเรียนที่สำเร็จการศึกษา จากสถาบันแห่งนี้เป็นที่ยอมรับ และได้รับสนับสนุนการเข้าฝึกงาน และรับศิษย์ของเราเข้าทำงาน 100%
- มีค่าเรียนและสวัสดิการ ให้กับนักเรียนที่คุ้มค่า และเหนือกว่า
- คณาจารย์ผู้สอนประกอบไปด้วย คุณวุติที่น่าเชื่อถือ
- นักเรียนที่สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนฯ ได้รับการปลูกฝังให้มีจรรยาบรรณในวิชาชีพบริบาลอย่างดีเยี่ยม
คุณสมบัติและพื้นฐานของผู้เรียนหลักสูตรภาคเรียนปกติ
- มีพื้นความรู้ขั้นต่ำ ม.6 ขึ้นไปหรือเทียบเท่า (หรือกำลังเรียน ม.4, ม.5 หรือ กศน. หรือกำลังจะจบ ม.6, ปวช.)
- มีการทดสอบความรู้ขั้นพื้นฐานตามระเบียบของโรงเรียน (ระหว่างเรียนออนไลน์)
- มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์
- ไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง หรือจิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ
เอกสารการสมัครเข้าศึกษา
เอกสารที่ผู้สมัครต้องนำมาในวันสมัคร มีดังนี้
- 1. ใบสมัครที่กรอกไว้เรียบร้อยแล้ว
- 2. สำเนาใบรายงานผลคะแนนฉบับสมบูรณ์จากสถาบันการศึกษาที่ผู้สมัครสำเร็จการศึกษา 2 ฉบับ
- 3. รูปถ่ายหน้าตรง ขนาด 1 นิ้ว 2 รูป (ถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน)
- 4. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน 2 ฉบับ
- 5. สำเนาทะเบียนบ้าน 2 ฉบับ
- 6. หลักฐานการเปลี่ยนชื่อ-สกุล 2 ฉบับ (ถ้ามี)
- 7. ใบรับรองแพทย์ 1 ฉบับ
ขั้นตอนการสมัครเรียน ภาคปกติ
นักเรียนอาจได้รับการแนะแนวจากคุณครูฝ่ายแนะแนว ของโรงเรียนสยามธัญบุรีบริบาล โดยเข้าไปให้คำแนะนำโดยตรงที่โรงเรียน หรือติดต่อสอบถามมายังโรงเรียนโดยตรง หรือได้รับข่าวสารในรูปแบบต่างๆ สื่อออนไลน์ หรือเว็บไซต์ของโรงเรียน ขั้นตอนการเข้าเป็นนักเรียนภาคปกติมีขั้นตอนดังนี้
- สมัครจองโควต้าเข้าเป็นนักเรียน
- ยืนยันการเข้าศึกษา
- ลงทะเบียนมอบตัวนักเรียน ตามกำหนดปฏิทินการศึกษา และชำระค่าบำรุงการศึกษา ดูรายละเอียดการชำระเงิน
- เข้าสู่หอพัก ก่อนกำหนดตารางการเรียนประจำ
ขั้นตอนการเรียน ภาคปกติ
- เข้าเรียนวิชาการ ตามคาบเรียน จันทร์-ศุกร์ ตั้งแต่ 08.30-17.30 น.(หรืออาจมีเพิ่มเติมวันเสาร์หรืออาทิตย์)
- เรียนปฏิบัติในโรงเรียน
- สอบข้อเขียนและปฏิบัติ
ขั้นตอนการฝึกงาน
- โรงเรียนแจ้งสถานที่ฝึกงานให้นักเรียน ล่วงหน้าก่อน จบภาคเรียนที่โรงเรียน
- ออกฝึกงานพร้อมนำเอกสารรายงานตัว และสมุดฝึกงาน นำส่งสถานที่ฝึกงาน
- บันทึกรายการฝึกงาน
- นำส่งสมุดฝึกงาน หลังจากฝึกงานเรียนร้อย
- สอบครั้งสุดท้ายหลังฝึกงานจบ
**โรงพยาบาลในเครือที่โรงเรียนส่งนักศึกษาเข้าฝึกงาน**
ขั้นตอนการรับใบประกาศนียบัตร
ก่อนรับใบประกาศนียบัตร นักเรียนจะต้องผ่านขั้นตอนเบื้องต้น
- นำส่งเอกสารฝึกงาน
- รับใบรับรองผลการเรียน หรือใบเกรดการเรียน
- รับใบประกาศนียบัตรหลักสูตร
ขั้นตอนการส่งนักศึกษาเข้าสมัครงาน
หลังจากนักเรียนสำเร็จการศึกษาอย่างสมบรูณ์เรียบร้อยแล้ว ทางโรงเรียน จะนำเสนอสถานที่ทำงานที่เปิดรับนักเรียนเข้าทำงานให้แก่นักเรียนทุกคน
- โรงเรียนแจ้งสถานประกอบการณ์ที่รับพนักงาน ให้แก่นักเรียน
- นักเรียน ยื่นเอกสารสำคัญในการเข้าทำงานให้ประกอบการ ตามระเบียบการของสถานประกอบการนั้นๆ ด้วยตนเอง
รายละเอียดการชำระเงินแต่ละหลักสูตร
จองโคต้าล่วงหน้า 5,000 บาท
ชำระแรกเข้า ล่วงหน้าก่อนวันมอบตัวนักเรียน *** จ่ายเต็มมีส่วนลด*** - หลักสูตรผู้ช่วยเภสัชกร - หลักสูตรผู้ช่วยพยาบาล
ผ่อนชำระงวดที่ 1 หลังเปิดเทอม 1 เดือน - หลักสูตรผู้ช่วยเภสัชกร 50% ของส่วนที่เหลือ - หลักสูตรผู้ช่วยพยาบาล 50% ของส่วนที่เหลือ
ผ่อนชำระงวดที่ 2 หลังเปิดเทอม 2 เดือน - หลักสูตรผู้ช่วยเภสัชกร 50% ของส่วนที่เหลือ - หลักสูตรผู้ช่วยพยาบาล 50% ของส่วนที่เหลือ
การวัดผลและการประเมินผลการศึกษา
โรงเรียนได้กำหนดหลักเกณฑ์การวัดผลและประเมินผลการศึกษาได้ดังนี้
1. การวัดผลการศึกษาอาจกระทำได้โดยการสอบเก็บคะแนนกลางภาค และการสอบปลายภาคเมื่อสิ้นสุดภาคการศึกษา หรือการทดสอบระหว่างภาคการศึกษา หรือทำรายงานตามที่อาจารย์ผู้สอนกำหนดให้
2. การวัดผลการศึกษาแบ่งออกเป็น 5 ระดับคือ
A Excellent ดีมาก = 4.00
B Fairly Good ดี = 3.00
C Almost Fair พอใช้ = 2.00
D Very Poor ใช้ไม่ได้ = 1.00
F Failed ไม่ผ่าน = 0
ในกรณีที่ใช้วิธีศึกษาในห้องเรียน นักศึกษาต้องมีเวลาศึกษาไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 ของเวลาศึกษาทั้งหมดในแต่ละวิชา มิฉะนั้นจะหมดสิทธิ์เข้าสอบปลายภาคในวิชานั้นได้ เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากอาจารย์ผู้สอนวิชานั้น
สถานภาพ และการพ้นสถานภาพนักศึกษา
1.สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร
2. ตาย, ลาออก, ถูกถอนจากสภาพนักศึกษา หรือถูกจำหน่ายชื่อออกจากทะเบียนนักศึกษาเฉพา
3. ใช้หลักฐานการศึกษาปลอมสมัครเข้าเป็นนักศึกษา
4. ประพฤติผิดระเบียบข้อบังคับของโรงเรียนอย่างร้ายแรง
การสำเร็จการศึกษา
นักศึกษาจะสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรผู้ช่วยเภสัชกร หรือหลักสูตรพนักงานผู้ช่วยการพยาบาลได้เมื่อ
1. นักศึกษามีการเข้าชั้นเรียนไม่น้อยกว่า 80% ของเวลาเรียนในแต่ละรายวิชา
2. ศึกษาครบตามรายวิชา โดยมีคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50
3. สอบผ่านการสอบประมวลความรอบรู้ทั้งการสอบข้อเขียนและการสอบปากเปล่า
4. ฝึกภาคปฏิบัติครบจำนวนชั่วโมงที่กำหนดแต่ละหลักสูตร
สนใจขอสมัครเรียน
นักเรียนที่สนใจเรียนในหลักสูตรผู้ช่วยเภสัชกร หรือพนักงานผู้ช่วยพยาบาล สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ อาจารย์จะช่วยเหลือนักเรียนอย่างรวดเร็ว ภายใน 24 ชั่วโมง